69 ถ.โคกขัน ต.ทับเที่ยง,,
อ.เมือง จ.ตรัง 92000

โทร 075-201500
-

กลุ่มงานเภสัชกรรม

Morphine

รูปแบบยา

ยาฉีด : Morphine inj 10mg/ml

ยารับประทาน: Morphine syrup 10mg/5ml (60ml); Morphine tab 10mg ; Morphine SR cap 20mg (Kapanol®)

สารน้ำที่เข้ากัน

D5W, NSS

ชื่อยา

ภาพยา

Onset

Peak

Duration

Morphine inj 10mg/ml

SC 20 นาที

IM 10-30 นาที

IV rapid (5-10 นาที)

Epidural(30-60 นาที)

Intrathecal(15-30นาที)

SC 50-90 นาที

IM 30-60 นาที

IV 20 นาที

1 ชั่วโมง

1 ชั่วโมง

3-5 ชั่วโมง

3-5 ชั่วโมง

3-5 ชั่วโมง

6-24 ชั่วโมง

8-24 ชั่วโมง

 

Morphine syrup 10mg/5ml

 

30 นาที

1 ชั่วโมง

3-5 ชั่วโมง

Morphine tab 10mg

30 นาที

1ชั่วโมง

3-5 ชั่วโมง

Morphine SR cap 20mg (Kapanol®)

30-60 นาที

8.5 ชั่วโมง

24 ชั่วโมง

ข้อบ่งใช้

บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันระดับปานกลางถึงรุนแรง ( pain score ระดับปานกลาง 4-6 ระดับรุนแรง 7-10) บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

ขนาดยา

-  ต้องเขียนแบบฟอร์มการสั่งยาเสพติดประเภท 2 (ยส5) ทุกครั้ง

IM/SC : ขนาดยาผู้ใหญ่ให้ตามอายุตามอาการซ้ำได้ทุก 2 ชั่วโมง ; อายุ 20-59 ปี ครั้งละ 7.5-12.5 มก. อายุ 40-59 ปี ครั้งละ 5-10 มก. อายุ 60-85 ปี ครั้งละ 2.5-5 มก.  อายุ > 85 ปี ครั้งละ 2-3 มก. ประเมินหลังให้ยา 30 นาที  (กรณีผู้ป่วยขอยาเสริม > 2 ครั้งใน 2ชม. ครั้งต่อไปอาจปรับเพิ่มขนาดยา 50%) 3

                ขนาดยาในเด็ก : เด็กอายุ > 1 ปี 0.03-0.05 mg/kg ตามอาการ ซ้ำได้ทุก 2-4 ชั่วโมง 3

IV titration : ขนาดยาผู้ใหญ่  กรณีอายุ < 70 ปี ปวดรุนแรง (pain score 7-10) ขนาดยา 2 mg  ปวดปานกลาง (pain score 4-6) ขนาดยา 1 mg 3

กรณีอายุ > 70 ปี ปวดรุนแรง ขนาดยา 1 mg ปวดปานกลาง 0.5 mg 3

ติดตามอาการปวดทุก 5 นาที กรณีผู้ป่วยขอยา > 3 ครั้งใน 15 นาที แพทย์อาจปรับเพิ่มขนาดยาในครั้งต่อไป 3

IV around the clock : ขนาดยาในผู้ใหญ่  1-2 mg IV q 2 hr หรือ 2-3 mg IV q 3 hr หรือ 3-4 mg IV q 4 hr ประเมินหลังให้ยา 5-10 นาที กรณีขอยา > 3 ครั้งในเวลาที่กำหนด แพทย์อาจปรับยาเพิ่มในครั้งต่อไป 3

IV infusion : ขนาดยาในเด็ก > 1 ปี 0.01-0.03 mg/kg/hr ปรับตามอาการผู้ป่วย 3

Epidural : ขนาดยาในผู้ใหญ่ 2-4 mg (ยาชนิด preservative free) ให้ยาช้าๆ 3-5 นาที3

Spinal : ขนาดยาในผู้ใหญ่ 0.1-0.3 mg (ยาชนิด preservative free) ให้ยาช้าๆ 3-5 นาที3

* ขนาดยาเสริม (breakthrough pain) 25-50% ของขนาดปกติ 3

ข้อห้ามใช้

แพ้ยา Morphine หรือสารประกอบ  ;  ผู้ป่วยที่มีภาวะกดการหายใจ  ; มีโรคหืดเฉียบพลันหรือรุนแรง โดยอยู่ในสถานที่ไม่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิต ; การใช้ยาร่วมกับยากลุ่ม MAOIs ภายใน 14 วัน ; กระเพาะอาหารลำไส้อุดกั้น เช่น ลำไส้ไม่ทำงาน (paralytic ileus) ; acute alcoholism ; ภาวะเพ้อคลั่ง ;  ภาวะชัก ; บาดเจ็บที่ศีรษะ ; ความดันในกะโหลกศีรษะสูง ; ความดันโลหิตต่ำ ; เนื้องอกในสมอง ; ภาวะกด CNS รุนแรง ; หัวใจเต้นผิดจังหวะ ; กรณีให้ยาทาง Epidural/intrathecal ห้ามให้ยากรณีที่ตำแหน่งให้ยาติดเชื้อ หรือผู้ป่วยใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือเลือดออกง่าย

ไม่ควรใช้กรณี biliary colic pain เพราะเกิด spasm ของ Sphincter of Oddi ได้ และไม่ควรใช้กรณี renal colic pain เพราะทำให้เกิด spam ของ ureter ได้ 3

ข้อควรระวังในการบริหารยา

1. double check ชื่อผู้ป่วย  ชนิด และขนาดยาทุกครั้ง

2.สารน้ำที่เข้ากัน ได้แก่ NSS , D5W

3. ห้ามใช้ยา เมื่อมีตะกอน หรือสีเหลืองเข้มขึ้น 1

4. การให้ IV push ต้องให้ช้าๆ นาน 4-5 นาที ป้องกันการเกิด chest wall rigidity 3

5. การให้ยาทาง Epidural, Intrathecal ต้องใช้ยาที่ไม่มีสารกันเสียเท่านั้น 3

6. ยาในรูปแบบออกฤทธิ์เนิ่น  โรงพยาบาลตรังจะใช้ Kapanol® cap 20 mg ห้ามไม่ให้บดหรือเคี้ยวยา  กรณีต้องการทำเป็นยาน้ำสำหรับดื่ม อาจโปรยลงในน้ำผลไม้ 30 มล. รับประทานภายใน 30 นาที  ห้ามไม่ให้เคี้ยวยา

7. กรณีให้ยา Kapanol® cap 20 mg ทาง NG tube สามารถให้ผ่าน French gastrostomy tube ขนาด 16 โดยแกะ capsule โปรยยาใน น้ำ ประมาณ 10 มล. เขย่าเบาๆ เทลงใน tube จากนั้นล้างแก้วด้วยน้ำ 10 มล. ทำซ้ำจนไม่มีเม็ดยาเหลือค้าง 1

8. ความเข้มข้นของยาสำหรับ IV push แนะนำเจือจางเป็น 1mg/ml (ใช้ syringe 10 mL ดูด NSS/SWI 9 mL + morphine 1 mL(10mg) ได้สารละลาย 10mg/10mL)  3

9. ความคงตัวภายหลังเจือจางยา 24 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง 1

อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญ

อาการรุนแรง ได้แก่ การกดการหายใจ ; อาการไม่รุนแรง ได้แก่ ง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืด คัน ปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก

การติดตาม

1. กรณี IV push ให้ตรวจติดตามทุก 5 นาที 4 ครั้ง จากนั้นทุก 30 นาที 2 ครั้ง หลังจากนี้ขึ้นกับอาการผู้ป่วยและคำสั่งแพทย์   กรณี IV infusion ให้ตรวจติดตามทุก 1 ชั่วโมง รวม 4 ครั้ง จากนั้นตรวจติดตามทุก 4 ชั่วโมง   กรณี IM/SC ตรวจติดตามทุก 15 นาที 4 ครั้ง จากนั้นทุก 30 นาที 2 ครั้ง

2. ตรวจติดตามอาการกดการหายใจในช่วง 24-72 ชม. หลังเริ่มยา โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ  ผู้ป่วยเด็ก  ผู้ป่วยที่มี cachectic และ debilitated , COPD, ผู้ป่วยที่มี respiratory reserve ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ , ผู้ป่วยที่มีความดันในสมองสูง , ผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง , hypoxia, hypercapnia, Preexisting respiratory depression , ใช้ยา CNS depressants

3. รายงานแพทย์ ถ้ามี respiratory rate ผู้ใหญ่  < 10 ครั้ง/นาที (เด็กอายุ < 1 ปี < 30 ครั้ง/นาที , เด็กอายุเกิน 1-3 ปี < 25 ครั้ง/นาที, อายุ 3-6 ปี < 20 ครั้ง/นาที, อายุ 6-13 ปี < 15 ครั้ง/นาที, อายุ > 13 ปี < 10 ครั้ง/นาที  ) หรือ sedation score > 2 หรือมี BP < 90/60 mmHg หรือ pain score > 4

    ( sedation score 0= ไม่ง่วงเลย ตอบคำถามรวดเร็ว  1= ง่วงเล็กน้อย นอนหลับๆตื่นๆ แต่ปลุกตื่นง่าย 2 = ง่วงพอควร อยากหลับมากกว่าคุย  แต่ปลุกตื่นง่าย  3 = ง่วงอย่างมาก ปลุกตื่นยากมาก หรือไม่โต้ตอบ S= หลับพักผ่อนปกติ สามารถปลุกตื่นง่าย )

4. ติดตาม HR , อัตราการหายใจ , ความดันโลหิต , pain score, sedation score

5. บันทึกสัญญาณชีพ ความดันโลหิต ขณะให้ยา

6. ระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง เพราะอาจเกิดการสะสมของยา morphine และ M3G ทำให้เพิ่มความเสี่ยงการกดการหายใจ

การแก้ไขเมื่อเกิด ADR

1. เมื่อเกิดการกดการหายใจ ให้หยุดยา อาจให้ Naloxone IV  (เตรียมยา 0.1 mg/mL โดยใช้ syringe 5 mL ดูด NSS/SWI 3 mL + Naloxone 1 mL (0.4 mg) ได้สารละลาย 0.4mg/4mL)  เริ่มต้น 0.1 – 0.2mg ซ้ำได้ ทุก 2-3 นาที หรือ 0.003-0.005 mg/kg/hr (ขนาดยารวมกันไม่ควรเกิน 10 mg ) กรณีไม่ตอบสนองควรหาสาเหตุอื่น   ขนาดยา Naloxone ในเด็ก IV 0.005-0.01 mg/kg ซ้ำได้ทุก 2-3 นาที หรือ infusion 0.005-0.02 mg/kg/hr   ขนาดยามอร์ฟีนครั้งต่อไปควรลดยาลง 25% 3

2. กรณีให้ยาระยะเวลานาน ควรให้ยาระบายร่วมด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. โรงพยาบาลศิริราช. คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด. High Alert Drug: คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง [อินเทอร์เน็ต]. 4th ed. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด โรงพยาบาลศิริราช; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 23 สิงหาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www1.si.mahidol.ac.th/km/node/3846
  2. เพียงเพ็ญ ชนาเทพากร. ยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug) [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 4 มกราคม 2562].เข้าถึงได้จาก: http://202.28.95.4/pharmacy/index.php?f=detail_rule&id=3
  3. สมบูรณ์ เทียนทองและคณะ แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน (Clinical guideline for acute pain management). พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย 2552
  4. อภิฤดี เหมะจุฑา. ยาที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552
  5. 5. Morphine [Internet]. Waltham(MA): Wolters Kluwer Health; 2019. [Cited 2019 Jan 3]. Available from: http://www.uptodate.com.